วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

เครื่องบินพลังยาง       :) :wink: :(  

คือ  เครื่องบินจำลองประเภทมีหน่วยกำลังขับในตัวเอง โดยใช้แรงบิดจากการคลายตัวของยาง มาหมุนใบพัด เพื่อสร้างแรงฉุด หรือผลัก ให้เครื่องบินจำลองเคลื่อนที่ เป็นเครื่องบินพลังยางที่บินได้อย่างอิสระ ไม่มีระบบวิทยุบังคับและกลไกใดๆ ในการบังคับควบคุมการวางตัวของเครื่องบิน ทิศทางการบิน ระดับความสูง ในขณะที่กาลังบินอยู่บนอากาศ

คุณลักษณะทั่วไปของเครื่องบินจำลองพลังยาง

มีลักษณะเป็นเครื่องบินจำลอง ที่จำลองย่อส่วนลงมาจากแบบของเครื่องบินที่มีอยู่จริงๆ โดยไม่จำกัดลักษณะแบบ และรุ่นของเครื่องบินที่ผู้เข้าแข่งขันจะใช้เป็นต้นแบบในการจำลอง รวมถึงเทคนิควิธีสร้าง แต่ต้องเป็นเครื่องบินที่มีชุดใบพัด 1 ชุด (Single Engine) มีน้ำหนักเหมาะสมกับพื้นที่ปีก และค่า Wing loading ของเครื่องบิน สามารถบินอยู่บนอากาศได้ด้วยหลักอากาศพลศาสตร์
EasyII2.jpg

วัสดุและอุปกรณ์ในการสร้างเครื่องบินยาง

ลวด
   สำหรับเครื่องบินยางนั้นส่วนใหญ่ลวด ที่ใช้เป็นเพลาใบพัดจะใช้ขนาด 0.010-0.031 นิ้ว และสำหรับล้อจะใช้ขนาด 0.015-0.025 นิ้ว ซึ่งตามที่พูดถึงข้างต้นนี้คือที่ต่างประเทศนิยมใช้กัน แต่สำหรับบ้านเราอาจจะหายากสักหน่อย เราอาจนำวัสดุใกล้ตัวมาใช้แทนได้ครับ เช่น เข็มร้อยพวงมาลัย คลิบหนีบกระดาษ เป็นต้น

ยาง (RUBBER) 
   เครื่องบินพลังงานยางนั้นจะใช้กำลังยางในการบินตั้งแต่ต้นจนจบ ต่างกับเครื่องบินแบบที่ใช้บินกลางแจ้ง (Outdoor) ซึ่ง อาศัยกำลังยางเฉพาะตอนแรกเพื่อบินขึ้นไปสูงๆจากนั้นก็จะอาศัยการร่อนลงมา ดังนั้นเครื่องบินแบบในร่มจะบินได้นานแค่ไหนก็จะอยู่ที่รอบการหมุนของยาง นั่นเอง ยางที่มีอยู่ในเมืองไทยนั้นก็จะเป็นยางรัดของซึ่งมีทั้งขนาดวงเล็กและใหญ่ ที่เราจะใช้ควรเป็นชนิดวงใหญ่ ยางรัดของนี้จะมีเนื้อยางที่แข็งจึงให้แรงบิดที่สูงแต่หมุนจำนวนรอบได้น้อย สำหรับในต่างประเทศจะมียางที่ผลิตสำหรับใช้กับเครื่องบินใช้ยางโดยเฉพาะ F.A.I Tan2 จะมีหลายขนาดเช่น 1/16,3/32,1/8,1/4 นิ้ว สำหรับเครื่องบินยางแบบ Peanuts จะ นิยมใช้ยางขนาด 3/32 และ 1/8 นิ้ว การหมุนยางเพื่อให้เต็มประสิทธิภาพ ควรจะให้อยู่ที่ ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของรอบที่หมุนจนขาดครับ โดยก่อนใช้ยางเราสามารถทดลองได้ว่าหมุนไปได้กี่รอบยางถึงขาด หลังจากนั้นเวลาที่หมุนเพื่อใช้งานก็ให้ลดรอบลงมาครับ


มีด
   มีมากมายหลายชนิด เช่นมีดคัดเตอร์ มีทั้งแบบธรรมดาและแบบใบมีดเอียง 30 องศา มีดสำหรับงาน HOBBY ที่ เป็นด้ามเหมือนปากกา ใบมีดโกนชนิด 2 หน้าก็ได้เหมือนกัน เหมาะสำหรับใช้ตัดไม้ชิ้นเล็กๆเพราะใบมีดมีความบางกว่ามีดคัตเตอร์จึงตัดได้ เรียบกว่า เพื่อให้สะดวกในการจับใช้งาน ให้ใช้คีมหักใบมีดโกนออกเป็นชิ้นยาวประมาณ 1/2 นิ้ว แล้วติดกับด้ามไม้ (ไอติม) ก็จะได้มีดที่ใช้ในงานตัดได้ดี

กระดาษทราย (SAND BLOCK)
   ใช้ในการขัดแต่งชิ้นงาน เก็บรายละเอียดรอยต่อต่างๆ ช่วยให้งานดูเรียบร้อยสวยงาม ในการสร้างเครื่องบินยางขนาดเล็ก มักจะใช้กระดาษทรายน้ำ เนื่องจากมีผิวขัดที่ละเอียดกว่ากระดาษทรายธรรมดา เช่นถ้าคุณต้องการใช้แบบละเอียดก็จะเลือกใช้เบอร์ 800, 700, 600, 500 หยาบขึ้นมาก็เบอร์ 400, 300, 200 เป็นต้น เวลาใช้งานเพื่อให้จับได้ถนัดมือก็ให้ตัดมาติดบนไม้กลม หรือแบบเรียบเพื่อขัดตามท่อ หรือตามรูต่างๆ ในการขัดไม้จะเกิดฝุ่นละอองผู้ขัดควรใช้ผ้าคาดปิดปากปิดจมูก และควรขัดในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก

ไม้บรรทัดโลหะ
   ทำจากสเตลเลส หรืออลูมิเนียม ขนาดยาว 1 ฟุต เอาไว้ช่วยในการตัดไม้ ไม่ควรใช้แบบพลาสติคเพราะขอบแหว่งได้ง่ายๆเมื่อเจอคมมีดเวลาตัด

ไม้บรรทัดวัดมุม
   ใช้ในการวัดมุมต่างๆ เพื่อให้ได้มุมตามแบบ มีทั้งแบบธรรมดา และแบบที่ปรับมุมได้ อย่างหลังนี้หาซื้อยากและราคาแพง แต่เราสามารถใช้แบบธรรมดามาดัดแปลงได้

เลื่อยฉลุ
   ใช้ในการตัดไม้แผ่น หรือไม้ท่อน รวมถึงวัสดุอื่นๆ เช่นท่อพลาสติก ท่อไฟเบอร์กลาส หรือคาร์บอนไฟเบอร์ เราอาจใช้เลื่อยตัวเล็กๆชนิดฟันละเอียดที่ใช้ในงาน HOBBY หรือเลื่อยฉลุก็ได้ หากไม่มีก็สามารถใช้ใบเลื่อยจิ๊กซอว์บางๆมาต่อด้ามเล็กๆให้จับถนัดมือก็ใช้ได้

สว่านไฟฟ้า
   ใช้ในการเจาะรูต่างๆ แต่เนื่องจากไม้บัลซ่าเป็นไม้เนื้ออ่อน เจาะง่าย หากใช้สว่านไฟฟ้าก็จะใหญ่เกินไป อาจทำให้ชิ้นงานเสียหายได้ จึงอาจใช้เพียงดอกสว่านตามขนาดต่างๆ มาใส่ด้ามกลมๆ ให้สามารถใช้มือหมุนเจาะเข้าเนื้อไม้ก็เพียงพอแล้ว หรือเราบางท่านอาจใช้สว่านที่ใช้ในงาน HOBBY ขนาดเล็กก็ใช้ได้ดีทีเดียว

เข็มหมุด
   ใช้ในการยึดตรึงชิ้นงานให้แนบกับแบบที่สร้าง หรือยึดระหว่างชิ้นงานด้วยกันเป็นการชั่วคราว เราสามารถใช้เข็มหมุดเย็บผ้าทั่วไปได้

คีมปากแหลม
   ใช้ในการหยิบชิ้นส่วนชิ้นเล็กๆ ในขั้นตอนการประกอบ

คีมตัดลวด
   ใช้ในการดัดลวดต่างๆ หรือใช้ในลักษณะงานอเนกประสงค์

คีมคีบ
     ใช้สำหรับจับชิ้นงานที่ต้องการ หรืออื่นๆตามต้องการ

แผ่นยางรองตัด
   ใช้สำรองใบมีดเวลาตัดไม้ หรือกระดาษ จะช่วยทำให้ได้รอยตัดที่คมมากกว่าตัดบนกระจกหรือวัสดุอื่นๆ เพราะขณะที่ตัดใบมีดจะเฉือนเลยชิ้นงานกินลึกไปในเนื้อยาง ทำให้ได้มุมตัดที่สม่ำเสมอ และยังช่วยป้องกันโต๊ะทำงานไม่ให้เกิดรอยขีดข่วน เสียหายด้วย

มีดสำหรับตัดมุม ( Easy Cutter Ultimate )
   มีดสำหรับตัดไม้ Balsa เป็นมุมขนาดต่างๆทำให้ง่ายและเที่ยง ตรง โดยมุมที่ตัดได้เช่น 45, 60, 75, 90, 105, 120, 135 องศา การใช้งานง่ายมากครับ แค่เลื่อนตัวล็อคไปที่มุมที่ต้องการ ล็อค แล้วตัด แค่นี้ก็ได้ไม้ บัลซ่า ที่มีองศามุมไม้ที่ต้องการแล้วครับ สำหรับอุปกรณ์ชิ้นนี้ในบ้านเราหาซื้อยากมาก ถ้าหาได้ก็แพง ยังไงก็ดูที่ความจำเป็นด้วยครับ แต่ถ้าราคาไม่เป็นอุปสรรคก็ควรมีไว้ครับ อันเดียวใช้ได้ยาวเลย

น้ำมันหล่อลื่น ( Rubber Lube )
น้ำมันหล่อลื่นสำหรับยาง ใช้หล่อลื่นยาง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคลายตัว เพิ่มแรงบิด ไม่ติดกันเป็นก้อน เหมาะกับการใช้ในการแข็งขัน ก่อนการใช้งานนั้นให้ขมวดปมให้เรียบร้อยก่อนนะครับ เดี๋ยวจะลื่นแล้วมัดปมไม่ได้ จากนั้นใส่ถุงมือ บีบน้ำยาใส่นิดนึงแล้วลูปตามยาวยาง อีกวิธีนึงคือ นำยางที่ใช้มาลูบด้วยน้ำมันหล่อลื่นแล้วใส่ถุงซิบ บีบๆ นวดๆ ให้เข้ากันครับ

มีดซอยไม้บัลซ่า (Balsa Stripper )
     เป็นอุปกรณ์ที่ควรมีเพราะว่าเวลาคุณจะตัดไม้บัลซ่าเป็น เส้นยาวๆ ถ้าเราใช้ไม้บรรทัดตั้งแล้วเอามีดลากเอา รับรองว่าเอียงแน่ๆ อุปกรณ์ชิ้นนี้จะช่วยคุณได้ ราคาไม่แพงมาก

กบไสไม้บัลซ่า
     ถ้าคุณต้องการไม้ที่บาง หรือขัดริบปีก อุปกรณ์ชิ้นนี้เหมาะมากเลยครับ ขนาดเล็กไม่ใหญ่เกินไป

ตาชั่งดิจิตอล
     ใช้สำหรับชั่งอุปกรณ์ หรือชิ้นงานที่เราต้องการ ส่วนใหญ่สามารถชั้งได้ตั้งแต่ 0.1-1,000 g ในบ้านเราสามารถหาซื้อได้ในราคาที่ไม่แพงครับ

ที่หมุนใบพัดแบบใช้ถ่าน
     อันสุดท้ายนี้เหมาะกับผมครับอยากเล่นเครื่องบินยาง แต่ขี้เกียจหมุนด้วยมือ 555 ส่วนใหญ่จะใช้ถ่าน AA 2 ก้อน ข้อดีคือสามารถนับรอบที่หมุนได้ ประหยัดเวลา แต่ข้อเสียคือเปลืองถ่าน พอแบตอ่อนก็หมดแรง แนะนำให้ใช้ถ่านชารท์ดีกว่าครับประหยัดดี

เครื่องบินแบบ อีซี่ ทู [Easy 2]

100615130203dadc3024af8667.gif
วิธีสร้าง : เมื่อได้แบบมาแล้วให้เอาเทียนไขถูบนแบบบริเวณที่จะต้องเอาไม้ชิ้นส่วนติดกัน เพื่อป้องกันชิ้นส่วนไปติดกับแบบหรืออาจใช้แผ่นฟิล์มถนอมอาหารปิดทับไปทั้ง หมดก็ได้plan1_small.gif
ทีนี้ก็ลงมือทำตามขั้นตอน แต่ต้องไม่ลืมว่า อย่าใจร้อน ไม่จำเป็นต้องทำให้เสร็จในวันเดียว และขอให้ใช้ความระมัดระวังในการใช้ของมีคม
1 ตัดไม้บัลซ่าหนา 1/8 นิ้ว กว้าง 3/8 นิ้ว ยาว 9 1/2 นิ้วสำหรับทำลำตัว การตัดพยายามให้มีดตั้งฉากกับไม้ ใช้การตัดแบบค่อยๆหลายๆครั้ง ไม่จำเป็นต้องตัดทีเดียวให้ขาด แต่งตอนท้ายลำตัวให้เหมือนในแบบ จากนั้นก็ตัดไม้หนา 1/16 นิ้ว ความกว้าง 1/8 นิ้ว และ 1/16 นิ้วความยาว 12 นิ้วไว้อย่างละ 4-5 ชิ้น เพื่อใช้ทำชิ้นส่วนของปีกและหาง
2 ที่หัวเครื่องบินให้เสริมไม้ตามแบบทากาวติดลำตัว แล้วตัดท่อโลหะหรือพลาสติคยาวเท่าแบบติดเข้าไป [เอามาจากกระป๋องน้ำยาโซแนกซ์หรือยาพ่นฆ่าปลวก ฆ่ายุงเช่นเชลล์ไดรท์หรือคินโช่] หากหาท่อไม่ได้ก็ต้องเอาไม้การฝีมือมาเจาะรูแล้วเลื่อยออกมาทากาวติดกับลำ ตัว ดัดลวดสำหรับเกี่ยวยางตรงท้ายเสียบเข้าไป จากนั้นเอาเส้นด้ายพันตรงหัวและที่เกี่ยวยางแล้วใช้กาวตราช้างทาบนด้ายเพื่อ เป็นการเสริมความแข็งแรง
3 ใช้ไม้ขนาด 1/16 x 1/16 นิ้วทำแพนหางดิ่งและแพนหางระดับตามแบบ ใช้เข็มหมุดยึดโดยรอบเพื่อกันชิ้นส่วนเคลื่อนหรือจะใช้เหรียญเล็กๆวางทับก็ ได้ รอให้กาวแห้งสนิทจึงค่อยยกออก
4 ใช้ไม้ 1/16 x 1/8 นิ้วทำปีกตามแบบ แต่ต้องทำสองชิ้นเหมือนๆกัน ยึดตามข้อ 3 รอให้กาวแห้งดีเสียก่อนจึงค่อยเอาออก
5 ระหว่างรอให้กาวแห้ง หาเครื่องดื่มชนิดกระป๋องที่ชอบมาดื่ม พอหมดแล้วก็เอากรรไกรตัดด้าน ข้างกระป๋องเพื่อเอาแผ่นอลูมิเนียมมาทำแหวนรองระหว่างใบพัดกับส่วนหัว
6 เจาะรูเล็กๆ ที่แผ่นอลูมิเนียม 2 รูเพื่อทำแหวนรอง 2 อันโดยให้แต่ละรูห่างกันพอประมาณ ใช้กระดาษทราย ขัดแต่งรูที่เจาะให้เรียบ จากนั้นใช้กรรไกรตัดรอบๆรูให้เป็นวงกลม หรือจะใช้ที่เจาะรูกระดาษกดออกมาก็ได้ ที่ให้เจาะรูก่อนเพราะทำได้ง่ายกว่าการตัดก่อนแล้วเจาะรูทีหลัง
7 เมื่อชิ้นส่วนปีกทั้งสองชิ้นแห้งดีแล้วก็เอามาทากาวต่อกันโดยให้มีมุมยกตามที่กำหนดในแบบ
8 บุกระดาษที่แพนหางระดับและแพนหางดิ่งโดยใช้กาวแท่งทาโดยรอบแพนหาง ทิ้งไว้ให้กาวแห้งก่อนที่จะบุกระดาษ จากนั้นจึงค่อยตัดกระดาษบางๆที่หาได้ให้มีขนาดใหญ่กว่าแพนหางเล็กน้อยมาวาง ลงไป แล้วใช้ภู่กันจุ่มแอลกอฮอล์สำหรับเช็ดแผล [Rubbing alcohol] ทาลงไปบนกระดาษ แอลกอฮอล์จะไปละลายกาวให้ติดกระดาษอีกทีหนึ่ง
9 เมื่อกาวที่ติดปีกทั้งสองข้างเข้าด้วยกันแห้งสนิทแล้วก็ทำการบุกระดาษด้วย วิธีเดียวกับแพนหาง กระดาษที่บุลงไปถ้ามันจะหย่อนยานบ้างก็ไม่เป็นไรเครื่องบินมันไม่รู้หรอก ดีกว่าตึงเกินไปเพราะจะทำให้ปีกหรือหางบิดซึ่งจะมีผลเสียต่อการบิน
10 ใช้มีดคมๆตัดกระดาษส่วนเกินออกจากบริเวณปีกและหาง
11 ตอนนี้ก็เอาชิ้นส่วนต่างๆที่ทำเรียบร้อยแล้วเก็บใว้ก่อน ข้ามไปดูเทคนิคการทำใบพัดชนิดที่ไม่ต้องเหลาได้เลย
12 เมื่อทำใบพัดเสร็จแล้วทีนี้ก็สอดลวดแกนใบพัดเข้าไปที่ด้านหัวเครื่องจากด้าน ท้าย ใส่แหวนรองที่ทำไว้ก่อนหน้านี้ด้วย เสียบผ่านแกนใบพัดแล้วงอลวดติดกับแกน
13 ติดแพนหางระดับเข้าไปด้านล่างของลำตัว ด้านบนเอาแพนหางดิ่งติดเข้าไปแต่ให้ส่วนท้ายบิดไปด้านซ้ายเล็กน้อยเป็นการ ปรับให้เครื่องบินเลี้ยวไปทางซ้าย
14 นำยางรัดของมาต่อกันให้เป็นแถวยาวแล้วเอามาเกี่ยวระหว่างห่วงแกนใบพัดและที่ เกี่ยวยางด้านท้าย ความยาวของยางทั้งหมดจะต้องหย่อนพอสมควร หากมียางที่ใช้กับเครื่องบินโดยเฉพาะก็ใช้ขนาด 3/32 นิ้วได้
15 หาจุดศูนย์ถ่วงของเครื่องบินที่ติดใบพัดเละแพนหางเรียบร้อยแล้วโดยใช้นิ้ว รองใต้ลำตัว หาตำแหน่งที่เครื่องบินขนานกับพื้น แล้วกาตำแหน่งนี้ไว้
16 ติดปีกเข้ากับลำตัวโดยให้ตำแหน่ง 1/2 นิ้วจากชายหน้าปีกตรงกับจุดศูนย์ถ่วงที่หาได้ เมื่อกาวแห้งสนิทแล้วก็แสดงว่าตอนนี้เครื่องบินของเราพร้อมที่จะนำไปบินได้ ดูวิธีการทดลองบิน ต่อไปได้
source16.gif
source17.gif
เฉพาะ Easy II นี้กำลังทำอีก 2 ลำ ซึ่งก็จะใช้ลำตัวของ Squirrel ที่ทำเก็บไว้เป็นหลัก IMG_2832.JPG
และมุมเล็ก ๆ ในบ้านที่ผมใช้ในการทำเครื่องบินครับ
IMG_2829.JPG
หลังจากที่ผมซ่อมแซมปีกที่หักแล้วและนำไปลองที่ลานเอนกประสงค์ของสวนสยาม  แต่วันนั้นด้านล่างลมค่อนข้างแรงได้ผลดังภาพ

อีกภาพ แสงไม่มีอาจจะมองลำบากหน่อยครับ

เครื่องบินแบบ EASY-15

เครื่องรุ่นนี้ออกแบบให้เป็นเครื่องบินสำหรับผู้ที่เริ่มหัดทำเครื่อง บินพลังยางโดยรวมความง่ายของเครื่องแบบ EASY-1 เข้ากับความต้องการที่จะทำเครื่องบินที่ใกล้เคียงกับชนิดที่ใช้แข่งขันตาม กติกาของ สพฐ. ข้อแตกต่างคือ EASY-15 ใช้ชุดใบพัดสำเร็จรูปซึ่งจะใช้แข่งขันไม่ได้เพราะผิดกติกา แต่ผู้สร้างก็จะได้ประสบการณ์ในการสร้างเครื่องบินที่บินได้สำเร็จและจะได้ นำไปใช้สร้างเครื่องบินแบบอื่นที่ทำยากกว่าได้โดยไม่ลำบาก
01.jpg
อุปกรณ์ที่ใช้ก็มีไม้บัลซ่าขนาดหนา 1.5 และ 3.0 มม. ชุดใบพัดขนาด 6” กระดาษบุ ยางขนาด 3/32” เริ่มแรกด้วยการซอยไม้หนา 1.5 มม.ให้กว้าง 3.0 มม.หรือ 1/8” ยาวประมาณ 10” เตรียมไว้ 7-8 เส้นเพื่อใช้ทำชิ้นส่วนปีกและแพนหาง ก่อนลงมือทำให้ติดเทปใสลงบนแบบแปลนบริเวณที่จะมีการทากาวเพื่อป้องกันชิ้น ส่วนมาติดกับแบบแปลน แยกทำชิ้นส่วนปีกเป็นสามชิ้น แพนหางระดับและแพนหางดิ่งอีกอย่างละหนึ่งชิ้น การทากาวอย่าทามากเกินความจำเป็นเพราะนอกจากสิ้นเปลืองแล้วจะทำให้เสียเวลา รอกาวแห้งและความแข็งแรงลดลงด้วย เมื่อชิ้นส่วนทั้งหมดแห้งดีแล้วก็ต้องแต่งมุมที่ไม้ชิ้นกลางและปลายปีกให้ เอียงรับกันกับมุมยกปลายปีกที่สูง 1 ½” ใช้กระดาษทรายแต่งเพื่อให้ชิ้นส่วนปีกเข้ากันสนิท เมื่อกาวแห้งสนิทก็ทำการบุกระดาษด้วยกาวแท่ง โดยบุเพียงด้านเดียว 02.jpg
ส่วนลำตัวนั้นใช้ไม้หนา 3.0 มม. ตัดกว้าง 3/8 นิ้ว ยาว 14” ตัดตอนปลายด้านท้ายให้เฉียงตามแบบเพื่อไว้ติดตั้งแพนหางระดับ ทำที่เกี่ยวยางด้านหลังโดยใช้เข็มหมุดงอเข้าแล้วเสียบที่ใต้ลำตัวด้านหน้า ของแพนหางระดับ ทำชิ้นส่วนใต้ปีกด้วยไม้หนา 3.0 มม. ทำไม้ประกบข้างจากไม้หนา 1.5 มม. ชิ้นส่วนรองปีกนี้ทากาวติดใต้ปีกแต่ไม่ได้ทากาวติดกับลำตัว วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้สามารถเลื่อนปีกเพื่อการปรับแต่งได้ 03.jpg
ติดแพนหางระดับและแพนหางดิ่งตามแบบ เมื่อกาวแห้งแล้วจึงเอาปีกกดวางบนลำตัวห่างจากด้านหน้าประมาณ 2” ใส่ชุดใบพัดที่ด้านหน้า ใส่ยางระหว่างขอเกี่ยวหน้าหลัง ทดลองหาจุด CG ให้อยู่ในตำแหน่งใกล้เคียงกับแบบ เลื่อนปีกไปหน้าหรือหลังเพื่อปรับให้ตรงจุด ทดลองหมุนยางแล้วปรับแต่งเพื่อให้บินได้ดีต่อไป ผู้ที่สนใจก็สามารถ Download แบบแปลนไปทำเองได้โดยซื้อเฉพาะชุดใบพัดเท่านั้นหรือถ้าทำใบพัดได้เอง สำหรับผู้ที่ไม่อาจหาอุปกรณ์หรือไม้บัลซ่าได้ก็สั่งเป็นชุดประกอบจากทางเว็บ นี้ได้ ราคาชุดละ 80 บาท ซึ่งจะมีแบบแปลน พร้อมไม้ ใบพัด ยาง กระดาษให้ครบเนื่องจากมีผู้ถามมาเรื่องการออกแบบเครื่องบินชนิดที่มีล้อ เลยลองติดล้อเข้าไปกับ EASY 15 ทดลองดูแล้วก็บินขึ้นได้ครับ ฐานล้อทำจากลวดสปริงขนาดประมาณ 0.029″ กะให้ยาวพอที่ใบพัดจะไม่ติดพื้น ล้อใช้ขนาดศูนย์กลาง 1 นิ้วครับ
SAM_1479_resize.JPG

เครื่องบินแบบ Micro Rat กางปีก 8 นิ้ว

ก่อนทำ : เครื่องบินแบบนี้ย่อมาจากเครื่องบินแบบ แฮงการ์แร็ต [Hangar Rat] กางปีก 19 นิ้วซึ่งเป็นเครื่องบินที่ออกแบบสำหรับผู้ที่เริ่มหัดทำเครื่องบินใช้ยาง ไมโครแร็ตนี้ย่อส่วนลงมาให้เหลือ
กางปีกแค่ 8 นิ้วเพื่อเอามาบินในห้องขนาดเล็กๆ
10022316022a62b92c72586f04.jpg06.jpg10022316022a62b92c72586f04.jpg05.gif
รายละเอียดวัสดุอุปกรณ์ : ใช้วัสดุเช่นเดียวกับแบบ Parlor Plane ที่ได้นำเสนอไปแล้วคือ ไม้บัลซ่าหนา 1/32 และ 1/16 นิ้ว ลวดสปริง ขนาด 0.015 นิ้ว กระดาษบุชนิดเบา แผ่นโลหะอย่างบาง กาวแท่ง ระวังเรื่องน้ำหนักเป็นพิเศษสำหรับเครื่องบินขนาดเล็กมากๆเช่นนี้ ต้องเลือกไม้และกระดาษที่มีน้ำหนักเบา ลวดสปริงก็ต้องหาขนาดเล็ก หากหาไม่ได้ก็ไม่ต้องติดฐานล้อวิธีทำ :1 ตัดไม้ขนาด 1/16 นิ้วทำลำตัว2 ดัดลวดสปริงขนาดเล็กเพื่อทำลวดเกี่ยวหางและลวดฐานล้อตามแบบ3 ตัดเอ็นปีกซึ่งเป็นแบบ Sliced Rib จำนวน 8 ชิ้น และแบบโคนปีก 2 ชิ้นจากไม้หนา 1/32 นิ้ว
4 แยกประกอบปีกทั้ง 2 ข้าง โดยอย่าลืมเอียงเอ็นปีกที่ตรงโคนปีกเพื่อให้รับกับมุมยกปลายปีกด้วยใช้แบบ Jig ที่มีในแบบวัด
5 ติดชิ้นส่วนปีกทั้งสองข้างเข้าด้วยกันโดยมีมุมยกปลายปีกข้างละ 3/4 นิ้ว
6 เมื่อแห้งดีแล้วจึงบุกระดาษ
7 ทำแพนหางดิ่งและแพนหางระดับจากไม้ขนาด 1/32 x 1/32 นิ้ว เมื่อแห้งแล้วบุกระดาษ
8 นำแผ่นโลหะบางเพื่อทำชิ้นส่วนสำหรับใส่ลวดแกนใบพัดมาเจาะรูเล็กๆก่อนจากนั้น จึงตัดให้มีขนาด 1/16 x 1/2 นิ้ว แล้วงอตามแบบติดที่ส่วนหัวจากนั้นใช้ด้ายพันแล้วทากาวที่ด้ายเพื่อความแข็ง แรง
9 ทำใบพัดโดยแกนทำจากไม้ 3/32 x 3/32 x 1 1/2 นิ้ว บากส่วนปลายเข้ามาข้างละ 1/2นิ้ว และทำมุม 40 องศาตามรูป [การบากไม้ทั้งสองข้างจะตรงข้ามกัน]
10 ใบพัดทำจากไม้หนา 1/32 นิ้ว โดยตัดตามแบบแล้วติดเข้ากับแกนใบพัดให้มีมุมประมาณ 40 องศา
11 ดัดลวดแกนใบพัดแล้วสอดจากด้านหลังผ่านชิ้นโลหะผ่านแหวนรองหรือจะใช้ลูกปัดขนาดเล็กแทน เสียบแกนใบพัด
12 ทำล้อจากไม้หนา 1/32 นิ้วแล้วติดเข้าไป [ไม่จำเป็นต้องหมุนได้]
13 ประกอบแพนหางเข้ากับลำตัว
14 ติดไม้ระหว่างลำตัวกับปีกที่ทำจากไม้ขนาด 1/32 x 1/16 โดยติดทางด้านขวาของลำตัว
15 ติดไม้ค้ำปีกที่ทำจากไม้ขนาด 1/32 x 1/32 นิ้ว ตามตำแหน่งที่กำหนด
16 นำยางรัดของมาเกี่ยวระหว่างห่วงลวดแกนใบพัดและลวดเกี่ยวหาง
17 ยางที่ใช้จะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของเครื่องซึ่งอาจจะเป็นขนาดเล็ก 0.025-0.045 นิ้ว
18 หาจุดศูนย์ถ่วงที่อยู่กึ่งกลาง
19 นำไปทดลองบินได้ การปรับแก้อาการผิดปกติต่างๆ ใช้กระดาษบางๆติดเพื่อเป็นแผ่นปรับที่ปีกหรือแพนหางตามความเหมาะสมต่อไป